BTU (British Thermal Unit)
มีความหมายคือ หน่วยที่ใช้วัดปริมาณความร้อนหน่วยหนึ่ง สามารถเทียบได้กับหน่วยจูลหรือแคลอรี่ในระบบสากล โดยที่ความร้อน 1 BTU คือปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ 1 ปอนด์มีอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง 1 องศาฟาเรนไฮด์ แอร์นั้นจะวัดกำลังความเย็นหรือความสามารถในการดึงความร้อน (ถ่ายเทความร้อน) ออกจากห้องปรับอากาศในหน่วยบีทียู (BTU) เช่นแอร์ขนาด 15,000 บีทียูต่อชั่วโมง หมายความว่าแอร์เครื่องนั้นมีความสามารถในการดึงความร้อนออกจาก ห้องปรับอากาศ 15,000 บีทียูภายในเวลา 1 ชั่วโมง
ทำไมต้องเลือก BTU แอร์ ให้พอเหมาะกับขนาดของห้อง
ถ้าเลือก BTU สูงไป คอมเพรสเซอร์จะทำงานตัดการทำงานถี่มากไป ทำให้คอมฯทำงานในการสตาร์ทระบบ บ่อยเกินไป อาจจะทำให้เสียหายได้ และ ทำให้ความชื้นในห้องสูง ไม่สบายตัวและที่สำคัญราคาแพงและเปลืองพลังงาน
ถ้าเลือก BTU ต่ำไป คอมเพรสเซอร์จะทำงานตลอดเวลา เพราะความเย็นห้องไม่ได้ตามอุณหภูมิที่ตั้งไว้ อาจจะเปลืองพลังงานมากกว่าเลือกบีทียูที่พอดีกับห้อง และทำให้อายุการใช้งานของเครื่องสั้นลง มีโอกาสเสียเร็วมากขึ้น และอาจส่งผลเสียหาก ทางแบรนด์ผู้ผลิต โรงงาน ศูนย์บริการ ในฐานะเจ้าของผลิตภัณฑ์อาจจะไม่ได้รับประกันในตัวสินค้า กรณี ตัวสินค้ามีปัญหา เนื่องจากการใช้งานผิดสเป็ค ผิดประเภท หรือผิดขนาด
สรุปก็คือ การเลือกขนาด BTU ของแอร์ให้เหมาะสมกับพื้นที่ของห้อง จะช่วยให้แอร์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ไม่เปลืองพลังงาน และลดภาระของเครื่องปรับอากาศของคุณอีกด้วย
วิธีคำนวณ BTU ที่เหมาะสม
ตารางข้างต้นเป็นการคำนวณบีทียูห้องมาตรฐาน การเลือกขนาดแอร์ควรพิจารณาปัจจัยอื่นๆเพิ่มเติม
คำนวณโดยใช้สูตรพื้นที่ห้อง
BTU = [กว้าง(เมตร) x ยาว(เมตร)] x ตัวแปร
ตัวแปร
750 สำหรับห้องนอนปกติ -ไม่โดนแดดโดยตรง (มีต้นไม้บังหรือระแนง)
800 สำหรับห้องนอนปกติ -โดนแดดมาก
850 สำหรับห้องทำงาน -ไม่โดนแดดโดยตรง (มีต้นไม้บังหรือระแนง)
900 สำหรับห้องทำงาน -โดนแดดมาก
950 - 1,100 สำหรับร้านอาหาร ร้านทำผม มินิมาร์ท ร้านค้า สำนักงาน -ไม่โดนแดด (มีต้นไม้บังหรือระแนง)
1,000 - 1,200 สำหรับร้านอาหาร ร้านทำผม มินิมาร์ท ร้านค้า สำนักงาน -โดนแดดมาก
1,100 - 1,500 ห้องประชุม ห้องสัมมนา ร้านอาหารสุกี้/ชาบู/ปิ้งย่างที่มีหม้อต้มหรือเตาความร้อนเยอะ หรือห้องที่มีจำนวนคนต่อพื้นที่เยอะกว่าปกติหลายเท่า
ตัวอย่างการคำนวณห้องนอนไม่ค่อยโดดแดด กว้าง 5 เมตร, ยาว 6 เมตร BTU = [5 เมตร x 6 เมตร] x 700 = 30 ตารางเมตร x 700 = 21,000 => 20,000เพราะฉะนั้น ควรใช้แอร์ขนาด 20,000-23,000 บีทียู (สามารถสูง-ต่ำได้นิดหน่อย) ปัจจัยที่ควรพิจารณาเพิ่มเติม - ทิศทางที่แดดส่องหรือทิศที่ตั้งของห้องว่ามีแสงส่องเข้ามามากหรือน้อย
- วัสดุหลังคามีฉนวนกันความร้อนหรือไม่ เพราะมีความร้อนสะสมมากหรือน้อย
- ความสูงระหว่างพื้นกับเพดานห้อง พื้นที่ๆมากทำให้การทำความเย็นต้องใช้เวลา
- ขนาดของประตูหรือหน้าต่างกระจก เป็นส่วนของการกั้นอากาศเข้าและออก
- ความถี่ในการเปิด/ปิดประตู เข้า/ออก
- จำนวนคนในห้อง คือความร้อนที่ออกจากตัวคนเมื่ออยู่ร่วมกันในห้องเดียวกัน
- จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าในห้อง อาทิ คอมพิวเตอร์ ตู้เย็น ไมโครเวฟ เตาอบ
ห้องที่มีฝ้าเพดานสูง คำนวณโดยใช้สูตรปริมาตรของห้อง
BTU = [[กว้าง(เมตร) x ยาว(เมตร) x สูง(เมตร)] x ตัวแปร] / 3
ตัวอย่างการคำนวณห้องที่มีเพดานสูง
ห้องทำงานโดดแดด กว้าง 4 เมตร, ยาว 10 เมตร, สูง 4 เมตร
BTU = [[4 เมตร x 10 เมตร x 4 เมตร ] x 900] / 3
= [160 ตารางเมตร x 900] / 3
= 144,000 / 3
= 48,000 => 48,000
เพราะฉะนั้น ควรใช้แอร์ขนาด 48,000 บีทียู (สามารถสูง-ต่ำได้นิดหน่อย)
หรือ สอบถามกับทางบริษัทฯ เพื่อให้ช่วยตรวจสอบและประเมินความเหมาสมให้ก็ได้ครับ